เมนู

[436] อ. ดูก่อนท่านกัจจานะ ถ้าอย่างนั้น เราจักเปรียบอุปมาแก่
ท่าน เพราะวิญญูบุรุษบางพวกในโลกนี้ ย่อมทราบอรรถแห่งภาษิตได้ด้วยอุปมา
ก็มี ดูก่อนท่านกัจจานะ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันติดไฟอยู่ มีทั้งน้ำมันทั้ง
ไส้ไม่บริสุทธิ์ ประทีปน้ำมันนั้น ย่อมติดไฟอย่างริบหรี่ ๆ เพราะทั้งน้ำมันทั้งไส้
ไม่บริสุทธิ์ ฉันใด ดูก่อนท่านกัจจานะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุบางรูปใน
ธรรมวินัยนี้ น้อมใจแผ่ไปสู่อารมณ์มีแสงสว่างเศร้าหมองอยู่ เธอในระงับความ
ชั่วหยาบทางกายให้ดี ไม่ถอนถิ่นมิทธะให้ดี ทั้งไม่กำจัดอุทธัจจกุกกุจจะให้ดี
เธอย่อมรุ่งเรื่องอย่างริบหรี่ ๆ เพราะมิได้ระงับ ความชั่วหยาบทางกายให้ดี มิได้
ถอนถีนมิทธะให้ดี ทั้งไม่กำจัดอุทธัจจกุกกุจจะให้ดี เธอตายไปแล้ว ย่อมเข้า
ถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกมีรัศมีเศร้าหมอง ดูก่อนกัจจานะ. เปรียบ
เหมือนประทีปน้ำมันติดไฟอยู่ มีทั้งน้ำมัน ทั้งไส้บริสุทธิ์ ประทีปน้ำมันนั้น
ย่อมติดไฟอย่างไม่ริบหรี่ เพราะทั้งน้ำมันทั้งไส้บริสุทธิ์ ฉันใด ดูก่อนท่าน
กัจจานะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ น้อมใจแผ่ไปสู่
อารมณ์มีแสงสว่างบริสุทธิ์อยู่ เธอระงับความชั่วหยาบทางกายได้ดี ถอนถีน
มิทธะได้ดี ทั้งกำจัดอุทธัจจกุกกุจจะได้ดี เธอย่อมรุ่งเรื่องอย่างไม่ริบหรี่ เพราะ
ระงับความชั่วหยาบทางกายได้ดี ถอนถีนมิทธะได้ดี ทั้งกำจัดอุทธัจจกุกกุจจะ
ได้ดี เธอตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกมีรัศมีบริสุทธิ์
ดูก่อนท่านกัจจานะ นี้แล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บรรดาเทวดาที่เข้าถึงหมู่
เทวดาหมู่เดียวกันแล้วเหล่านั้น บางพวกมีรัศมีเศร้าหมอง บางพวกมีรัศมี
บริสุทธิ์.

ว่าด้วยวาจาควรนำเข้าไป


[437] เมื่อท่านพระอนุรุทธะกล่าวแล้วอย่างนี้ ท่านพระอภิยะกัจจานะ
ได้กล่าวกะท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ ที่ท่าน

พยากรณ์นั้นดีแล้ว เพราะท่านมิได้กล่าวอย่างนี้ว่า เราได้สดับมาอย่างนี้ หรือ
ว่าควรจะเป็นอย่างนี้ แต่ท่านกล่าวว่า เทวดาเหล่านั้น เป็นแม้อย่างนี้ เป็นแม้
ด้วยประการนี้ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านพระ
อนุรุทธะคงจะเคยอยู่ร่วมเคยเจรจาร่วม และเคยร่วมสนทนากับเทวดาเหล่านั้น
เป็นแนะ
อ. ดูก่อนท่านกัจจานะ ท่านกล่าววาจาที่ควรนำเข้าไปยินดีนี้เหมาะ
เเล แต่ผมจักพยากรณ์แก่ท่านบ้าง ดูก่อนท่านกัจจานะ ผมเคยอยู่ร่วม เคย
เจรจาร่วม และเคยร่วมสนทนากับเทวดาเหล่านั้น มานานแล.
[438] เมื่อท่านพระอนุรุทธะกล่าวแล้วอย่างนี้ ท่านพระอภิยะ
กัจจานะได้กล่าวกะช่างไม้ปัญจกังคะดังนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดี เป็นลาภของท่าน
ท่านได้ดีแล้วที่ละเหตุแห่งความสงสัยข้อนั้นได้ เราทั้งสองคนก็ได้ฟังธรรม
บรรยายนี้แล.
จบอนุรุทธสูตรที่ 7

อรรถกถาอนุรุทธสูตร


อนุรุทธสูตร มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวมาหํสุ ความว่า เข้าไปหาในเวลา
ที่อุบาสกนั้น ไม่สบาย จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า อปณฺณถํ แปลว่า ไม่ผิด
พลาด. บทว่า เอกตฺถ ได้แก่ เป็นทั้งเจโตวิมุตติ ที่หาประมาณมิได้ หรือ
เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ. ท่านถือเอาคำนี้ว่าฌานก็เรียกอย่างนั้น เพราะความ
ที่จิตนั้น แหละมีอารมณ์เป็นหนึ่ง.
บทว่า ยาวตา เอกํ รุกฺขมูลํ มหคฺคตนฺติ ผริตฺวา อธิมุจฺจิตฺวา
วิหรติ
ความว่า น้อมใจแผ่ไปสู่มหัคคตฌานในกสิณนิมิตนั้น ปกคลุมโคน
ต้นไม้แห่งหนึ่ง เป็นที่พอประมาณโดยกสิณนิมิตอยู่. บทว่า มหคฺคตํ ความว่า
ก็ความผูกใจไม่มีแก่ภิกษุนั้น ท่านจึงกล่าวบทนี้ไว้ด้วยสามารถแห่งความเป็น
ไปแห่งมหัคคตฌานอย่างเดียว. ในบททั้งปวงก็มีนัยนี้. บทว่า อิมินา โข
เอตํ คหปติ ปริยาเยน
ความว่า ด้วยเหตุนี้. ก็ในข้อนี้มีวินิจฉัยว่า ก็
นิมิตแห่งพรหมวิหารที่ท่านกล่าวไว้ว่า เป็นอัปปมาณานี้ ย่อมไม่ควร คือยัง
ไม่เกิดการแผ่ขยาย และทั้งฌานเหล่านั้น ก็ยังไม่เป็นบาทแห่งอภิญญาหรือ
นิโรธ ก็ฌานที่เป็นบาทแห่งวิปัสสนา ย่อมเป็นทั้งบาทแห่งวัฏฏะ และเป็น
การก้าวลงสู่ภพ. แต่นิมิตแห่งฌานที่เป็นกสิณ ซึ่งท่านกล่าวว่า เป็นมหัคคตะ
ย่อมควร คือย่อมเกิดการแผ่ขยายออกไป และย่อมก้าวล่วงได้ ฌานที่เป็น
บาทแห่งอภิญญา ย่อมเป็นบาทแห่งนิโรธด้วย เป็นบาทแห่งวัฏฏะด้วย ทั้ง
ก้าวลงสู่ภพได้ด้วย. ธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกันอย่างนี้ และมีพยัญชนะต่าง
กันอย่างนี้ คือ เป็นอัปปมาณา และเป็นมหัคคตะ.